เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์
ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร
ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net
จะอธิษฐานและจัดการประชุมอธิษฐานอย่างไร(คำสอนของ ดร. ทิโมธี หลิน 1911-2009) เขียนบทเทศนาโดย ดร. อาร์ เอล ไฮเมอร์ส “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) |
ศิษยาภิบาลของ ดร. ไฮเมอร์สมาเป็นเวลานานที่ ชื่อ ดร. ทิโมธี หลิน (1911-2009) ท่านเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์เป็นอย่างดี ท่านจบปริญญาเอกด้านต่างๆ เช่นภาษาฮิบรูและภาษาท้องถิ่น ในปี 1950 ท่านจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบ๊อบโจนส์ ต่อมาท่านมาสอนศาสนศาสตร์ระบบ ศาสนศาสตร์ พันธสัญญาเดิมในภาษาฮีบรู ภาษาอราเมค ภาษาอาหรับโบราณ และปาชิตา ซีเรีย ต่อมาท่านย้ายไปเป็นอธิการบดีของวิทยาลัยศาสนาแห่งประเทศจีน ก่อตั้งโดย ดร. เจมส์ ฮัดสันเทย์เลอร์ที่สาม นอกจากนี้ท่านยังเป็นหนึ่งในนักแปลพระคัมภีร์เดิมฉบับ New American Standard Bible (NASB) ดร. หลินเป็นศิษยาภิบาลของดร อาร์ เอล ไฮเมอร์ส เป็นเวลาถึงยี่สิบสี่ปี ดร. ไฮเมอร์ส กล่าวว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่า ดร. หลินเป็นศิษยาภิบาลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ท่านเคยรู้จัก เมื่อท่านยังเป็นสมาชิกที่คริสตจักรจีน ดร. ไฮเมอร์ส ได้เห็นพระเจ้าส่งการฟื้นฟูลงมาที่นั่น จนมีหลายร้อยคนได้รับความรอดและเข้ามาในคริสตจักรในเวลานั้น “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) หนังสือแปลพระคัมภีร์ส่วนใหญ่แปลข้อนี้ผิด ตัวอย่างเช่น ฉบับแปลที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งกล่าวว่า "โดยทั่วไปโลกจะไม่เชื่อ" แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่พระเยซูกำลังตรัสถึงในข้อนี้ พระองค์ไม่ได้พูดถึงการละทิ้งความเชื่อในยุคสุดท้าย หรือพระเยซูตรัสถึงคริสเตียนที่แท้จริงในตอนที่พระองค์เสด็จกลับมา ในความเป็นจริงพระเยซูตรัสกับเปโตรนั้นตรงข้าม “และเราบอกท่านด้วยว่า ท่านคือเปโตร และบนศิลานี้เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้ และประตูแห่งนรกจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นก็หามิได้” (มัทธิว 16:18) มัทธิว 16:18 แสดงให้เราเห็นว่า ไม่ว่าคนจะละทิ้งความเชื่อมากมายก็ตาม แต่คริสเตียนที่รอดก็มีจำนวนมากมายด้วยในตอนที่พระเยซูเสด็จกลับมา คริสเตียนที่แท้จริงจำนวนมากจะถูกรับขึ้นไปสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและประเทศในโลกที่สามที่มีการฟื้นฟูในทุกวันนี้ “ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าเองจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยเสียงกู่ก้อง ด้วยสำเนียงของเทพบดี และด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงที่ตายแล้วในพระคริสต์จะเป็นขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเราทั้งหลายซึ่งยังเป็นอยู่และเหลืออยู่ จะถูกรับขึ้นไปในเมฆพร้อมกับคนเหล่านั้น เพื่อจะได้พบองค์พระผู้เป็นเจ้าในฟ้าอากาศ อย่างนั้นแหละเราก็จะอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นนิตย์” (1 เทสะโลนิกา 4:16-17) แม้แต่ในช่วงกลียุค ก็ยังมีคริสเตียนมากมายได้รับความรอด “คนมากมาย ถ้ามีผู้ใดจะนับประมาณมิได้เลย มาจากทุกชาติ” (วิวรณ์ 7:9) “คนเหล่านี้คือคนที่มาจากความทุกข์เวทนาครั้งใหญ่ พวกเขาได้ชำระล้างเสื้อผ้าของเขาในพระโลหิตของพระเมษโปดกจนเสื้อผ้านั้นขาวสะอาด” (วิวรณ์ 7:14) ดังนั้น พระเยซูมิได้ตรัสถึง ความเชื่อแห่งความรอดตอนที่พระองค์เสด็จกลับมา ตอนที่พระองค์ตรัสว่า “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) I. ประการที่หนึ่ง ความสำคัญของความอดทนต่อการอธิษฐาน พระคัมภีร์ฉบับแปลส่วนใหญ่ผิด แต่ ดร. หลิน ได้อธิบายข้อนี้ไว้ว่า คำว่า “ควมเชื่อ” ในพระคัมภีร์ นั้นใช้อย่างกว้างๆ แต่ความหมายเจาะจงนั้นคือหลังจากมีการวิเคราะห์ก่อน ซึ่งในข้อนี้นั้นจะอยู่ในแบบคำอุปมา ซึ่งแสดงว่าควรต้องอธิษฐานในทุกเวลา และไม่อ่อนล้า [ลูกา 18:1-8ก], ซึ่งข้อที่ตามมา [ลูกา 18:9-14] เป็นคำอุปมาของการอธิษฐานของพวกฟาริสีและคนเก็บภาษี เนื้อหาสำคัญในข้อนี้ [ลูกา 18:8] ซึ่งบ่งบอกชัดเจนถึงคำว่า “ความเชื่อ” ในที่นี้กล่าวถึงความเชื่อในการอธิษฐาน และคำตรัสของพระเยซูคริสต์ในที่นี้กล่าวถึงความเศร้าที่เกิดให้กับคริสตจักรที่ละทิ้งความเชื่อของการอธิษฐาน ตอนพระองค์เสด็จกลับมา (Timothy Lin, Ph.D., The Secret of Church Growth, First Chinese Baptist Church of Los Angeles, 1992, pp. 94-95) ดร. หลิน กล่าวว่า จุดหลักของคำอุปมาในลูกา 18:1-8 บอกใคริสเตียนจะต้องยืนหยัดต่อการอธิษฐาน และไม่ท้อ ข้อที่แปดแสดงว่าคริสเตียนขาดความอดทนในการอธิษฐานในยุคสุดท้าย นั่นคือยุคที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้ ดังนั้นเราสามารถตีความข้อนี้ว่า “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ [ในการอธิษฐานอย่างจริงจัง] ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) ดร. กล่าวอีกว่า การประชุมอธิษฐานของคริสตจักรหลายแห่งในปัจจุบันเถูกทอดทิ้ง (หรือถูกเปลี่ยนไปเป็นการศึกษาพระคัมภีร์จะมีการอธิษฐานก็เป็นเพียงครั้งสองครั้ง) ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกที่คริสตจักรหลายนั้นเห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ! [บ่อยครั้ง] ที่เห็นมีละทิ้งกลุ่มอธิษฐานในปัจจุบันนี้ นี่จึงเป็นหมายสำคัญที่ชี้ให้เราเห็นว่าใกล้วันที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมาแล้ว ปัจจุบันนนี้มีสมาชิกในหลายคริสตจักรที่นมัสการโทรทัศน์มากกว่าพระเจ้าของพวกเขา ... อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าจริงๆ ... นี่คือคริสตจักรแห่งยุคสุดท้าย... ไม่ใส่ใจ [ขาดความสนใจ] ต่อการประชุมอธิษฐาน (Timothy Lin, Ph.D., ibid., p. 95) ดังนั้นลูกา 18: 8 จึงเป็นสัญญาณของการขาดการอธิษฐาน ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาครั้งที่สอง นี่คือช่วงที่เราอาศัยอยู่นี้ หมายสำคัญของการขาดการอธิษฐาน แต่ไม่ใช่ไม่มีความเชื่อ การขาดการอธิษฐานคืออีกหนึ่งหมายสำคํยที่แสดงวันคริสตจักรกำลังอยู่ในยุคสุดท้าย ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาในครั้งที่สอง “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ [ในการอธิษฐานอย่างจริงจัง] ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) II. ประการที่สอง ความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน ดร. หลินยังชี้ให้เห็นว่าการอธิษฐานของคนๆเดียวจะไม่มีพลังอำนาจเท่ากับการอธิษฐานเป็นกลุ่มท่านกล่าวดังนี้ว่า" คนมักพูดว่า ไม่ว่าคุณจะอธิษฐานคนเดียว หรือเป็นหมู่คณะก็ไม่มีความแตกต่างอะไรเลย ไ/ม่ว่าคุณจะอธิษฐานที่บ้านคนเดียว หรือเข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานกับพี่น้องในคริสตจักร คำพูดนี้แสดงให้เห็นถึงคนที่เห็นแก่ตัว และขี้เกียจเท่านั้น หรือแสดงให้เห็นถึงคนที่ไม่ใส่ใจต่อการอธิษฐาน! ลงดูสิ่งที่พระเยซูทรงตรัสเกี่ยวกับแง่มุมของการอธิษฐานนี้: “กล่าวแก่ท่านทั้งหลายอีกว่า ถ้าในพวกท่านที่อยู่ในโลกสองคนจะร่วมใจกันขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ก็จะทรงกระทำให้ ด้วยว่ามีสองสามคนประชุมกันที่ไหน ๆ ในนามของเรา เราจะอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น” (มัทธิว 18:19-20) พระเจ้าของเราทรงเตือนเรา อย่างนี้ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าจะไม่สามารถบรรลุได้ด้วยความพยายามของคนแค่คนเดียว แต่ผ่านทางความพยายามขององค์กรที่ดำเนินการโดยคริสตจักร ทั้งมวล กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ต่อเมื่อ ... ทุกคนในคริสตจักร [อธิษฐาน] เป็นน้ำหนึ่วใจเดียวกัน... คริสตจักรสามารถมีอำนาจเช่นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดร. ได้สอนถึงความสำคัญของการอธิษฐานด้วยความเชื่อ และความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน III. ประการที่สาม ความสำคัญของ “การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” กรุณาเปิดไปที่กิจการ 1:14 และอ่านดังๆ “พวกเขาร่วมใจกันอธิษฐานอ้อนวอนต่อเนื่องพร้อมกับพวกผู้หญิง และมารีย์มารดาของพระเยซูและพวกน้องชายของพระองค์ด้วย” (กิจการ 1:14) “พวกเขาร่วมใจกันอธิษฐานอ้อนวอนต่อเนื่อง…” ดร. หลิน กล่าวว่า พระคัมภีร์ฉบับภาษาจีนแปลว่า “เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” เหมือน “การมีจิตใจเดียวกัน” ดังนั้น การมีพระเจ่ทรงสถิตในกลุ่มอธิษฐานไม่เพียงแต่กลุ่มผู้เข้าร่วมเข้าใจความจริงของการอธิษฐาน แต่ยังคงมา [เข้าร่วมอธิษฐาน] ด้วยจิตใจที่ถ่อมสภาพ… กราบทุน อธิษฐาน ขอร้อง และการขอบพระคุณพระเจ้าร่วมกัน นั่นคือรูปแบบที่สมบูรณ์แบบของการอธิษฐาน (Timothy Lin, Ph.D., ibid., pp. 93-94) นี้คือ "อธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน" เราทุกคนต้องพูดว่า "อาเมน" ในขณะที่คนใดคนหนึ่งนำเราอธิษฐาน เมื่อเราทุกคนพูดว่า "อาเมน" นั่นแสดงว่าเรากำลังอธิษฐาน "เป็นหนึ่งใจเดียวกัน" คุณเคยได้ยินคำสอนของ ดร. หลิน เกี่ยวกับความสำคัญของการอธิษฐานด้วยความเชื่อความสำคัญของการประชุมอธิษฐาน และความสำคัญของความสามัคคีแบบ "อธิษฐานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน" แต่บางท่านที่นี่ในคืนนี้ ยังไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานของเรา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมชีวิตของคุณดูช่างน่าท้อแท้! มีผู้ใดที่นี่ในคืนนี้ที่จะพูดว่า "อาจารย์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเข้าร่วมการประชุมอธิษฐานอย่างน้อยหนึ่งครั้ง"? กรุณาปิดตาของคุณ ถ้าคุณทำเช่นนั้นโปรดยกมือขึ้น ทุกคนโปรดอธิษฐานขอพระเจ้าทรงช่วยให้พวกเขารักษาคำมั่นสัญญานี้! (ทุกคนอธิษฐาน) ถ้าคุณยังไม่ได้กลับใจใหม่ ผมขอแนะนำให้คุณเข้าร่วมการประชุมอธิษฐานในตอนเย็นวันเสาร์ กรุณาปิดตาของคุณ มีใครไหมที่จะบอกว่า "ใช่ อาจารย์ฉันจะเริ่มต้นเข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานในทุกคืนวันเสาร์ทุกครั้ง" มีหรือไม่? โปรดยกมือขึ้น ทุกคนอธิษฐานขอให้พวกเขารักษาคำมั่นสัญญาไว้! (อธิษฐาน) พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อชำระบาปของคุณ พระองค์ทรงหลั่งโลหิตของพระองค์เพื่อล้างบาปของคุณออกไป พระองค์ทรงทนกับความทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวและถูกตรึงไว้กับไม้กางเขน ที่นั่นทรงเอาชนะความบาปของคุณ พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันที่สาม พระองค์ทรงพระชนม์ และประทับ ณ เบื้องพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า จงมาหาพระคริสต์แล้วคุณจะรอดพ้นจากบาปของคุณ มีใครไหมในคืนนี้ที่ยังไม่ได้รับความรอด และต้องการให้เราอธิษฐานเพื่อการกลับใจใหม่ของคุณ? กรุณาหลับตาอีกครั้ง โปรดชูมือของคุณเพื่อให้เราสามารถอธิษฐานเผื่อคุณได้ ขอทุกคนอธิษฐานให้พวกเขาสำนึกผิดในความผิดบาปของพวกเขา และมาหาพระคริสต์เพื่อรับการชำระให้สะอาดจากบาปโดยโลหิตของพระองค์! ดร. ชาน กรุณานำเราอธิษฐานเผื่อคนที่จะได้รับความรอดในคืนนี้ หากคุณต้องการพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการเป็นคริสเตียนที่แท้จริง โปรดยืนขึ้นแล้วเดินตาม ดร. คาเกน จอห์น คาเกน และ โนอาห์ ซอง ไปที่ด้านหลังห้องประชุม พวกเขาจะพาคุณไปยังที่ๆเงียบสงบ เพื่อที่เราจะสามารถพูดคุยและอธิษฐานเผื่อให้คุณกลับใจใหม่ คลิกที่นี่เพื่อไปอ่านชีวะประวัติของ ดร. หลิน ในวิกีพีเดีย ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ หากคุณได้รับพระพรจากบทเทศนานี้ ดร. ไฮเมอร์ส อยากจะได้ยินจากคุณ ตอนที่เขียนจดหมายถึง ดร. ไฮเมอร์ส กรุณาบอกท่านว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือหากท่านไม่อาจตอบอีเมลล์ของท่าน หากบทเทศนานี้เป็นพระพรให้กับคุณ กรุณาเขียนอีเมล์ส่งไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส และบอกท่านว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร และนี่คืออีเมล์ของดร.ไฮเมอร์ส – rlhymersjr@sbcglobal.net (คลิกที่นี่) คุณสามารถเขียนถึง ดร. ไฮเมอร์ส ในภาษาของคุณ แต่หากเป็นไปได้ก็ขอให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือเขียนส่งจดหมายส่ง ดร. ไฮเมอร์ส ทางไปรษณีตามที่อยู่นี้ P.O. Box 15308, Los Angeles, CA 90015. คุณสามารถโทรศัพท์ไปท่านได้ที่ (818)352-0452 (จบการเทศนา) หมายเหตุ: ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์ ร้องเพลงพิเศษก่อเทศนาโดย ท่าน เบนจนมิน คินเกด กรีฟี่ท: |
โครงร่างของ จะอธิษฐานและจัดการประชุมอธิษฐานอย่างไร(คำสอนของ ดร. ทิโมธี หลิน 1911-2009) เขียนบทเทศนาโดย ดร. อาร์ เอล ไฮเมอร์ส “แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8) (มัทธิว 16:18; I เทสะโลนิกา 4:16-17; วิวรณ์ 7:9, 14) I. ประการที่หนึ่ง ความสำคัญของความอดทนต่อการอธิษฐาน ลูกา 18:8 II. ประการที่สอง ความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน, มัทธิว 18:19-20 III. ประการที่สาม ความสำคัญของ “การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” กิจการ 1:14 |