เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์
ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร
ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net
พันธกิจของนักประกาศ THE WORK OF AN EVANGELIST โดย ดร. ไฮเมอร์ส อาร์ เอล์ จูเนียร์ เทศนาในตอนเย็นของวันอาทิตย์ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ณ คริสตจักร “จงทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ และจงกระทำการรับใช้ของท่านให้สำเร็จ” |
คำว่า ผู้ประกาศข่าวประเสริฐถูกใช้ทั้งหมดสามครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งผมจะนำมาใช้ในการเทศนาครั้งนี้คืออยู่ในพระธรรมกิจการ 21:8 และ เอเฟซัส 4:11 ในภาษากรีก “เป็นการกล่าวถึงผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” (เถาองุ่น) ในพระธรรมเอเฟซัส 4:11 คำว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” เป็นการกล่าวถึงบุคคลที่มีของประทาน เช่น “พวกอัครทูต” และ “ผู้เผยพระวัจนะ” เป็นต้น “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐคือบุคคลที่ถูกเรียกโดยพระเจ้าให้กล่าวพระวัจนะคือเรื่องข่าวดีแห่งความรอดในคริสตจักรให้กับผู้ที่ยังไม่ได้กลับใจ เพราะบุคคลเหล่านั้นคือชาวโลกที่เข้ามาในคริสตจักร สิ่งที่อาจารย์เปาโลบอกทิโมธีคือ และสามารถใช้ให้กับนักเทศน์ทุกคน นั่นคือ “จงทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ดร. จอห์น กิลล์ (1697-1771) กล่าวเอาไว้ว่า “การทำพันธกิจเช่นนี้ บุคคลนั้นไม่ใช่กล่าวถึงเรื่องราวของศิลธรรมจรรยา…แต่เขาเทศนาเกี่ยวกับการสร้างสันติสุข ความชอบธรรม ชีวิต และความรอดในพระเยซูคริสต์เท่านั้น รวมถึงผ่านมาทางพระคุณของพระเจ้า” (John Gill, D.D., An Exposition of the New Testament, The Baptist Standard Bearer, 1989 reprint, volume III, p. 340; note on II Timothy 4:5). คิดว่าแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วล่ะ นั่นคือศิษยาภิบาลถูกเรียกให้เทศนาเรื่องแห่งความรอดในพระเยซูคริสต์เท่านั้น และนั่นคือสิ่งนักเทศน์ในหลายศตวรรษที่ผ่านมาทำกัน แต่ปัจจุบันนี้มีนักเทศน์บางคนที่ใช้แบบผสมกลมกลืนออกไป เหมือนอย่างที่กษัตริย์ซาโลมอน กล่าวไว้ “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นคนเที่ยงธรรม แต่มนุษย์ทั้งหลายได้ค้นคว้ากลอุบายต่างๆออกมา” (ปัญญาจารย์ 7:29) แทนที่จะกล่าวพระวัจนะที่เกี่ยวกับข่าวประเสริฐ ศิษยาภิบาลบางคนจะเทศน์อย่างที่เรียกกันว่า เทศนาแบบ “อรรถธิบาย” และสรุปท้ายด้วยการ “ตั้งคำถามชวญคิด” บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเตรียมบทเทศนาแบบประกาศนั้นทำอย่างไรกัน! การเชิญชวญในตอนท้ายของการเทศนาของคนเหล่านั้นเป็นแบบ “อธิบาย” มากกว่ากล่าวถึงเรื่องของข่าวประเสริฐ – ไม่เคยกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์และเป็นขึ้นมาจากความตายของพระคริสต์! การเทศนาแบบนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมากสำหรับผม ทุกชาติทุกภาษาเราควรทำตามอย่างที่อาจารย์เปาโลกล่าวเอาไว้ - “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ”! ไม่ควรสันนิฐานว่าผู้คนคงทราบแล้วล่ะว่าพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของเขาเหล่านั้น! อย่าสันนิฐานว่าคนเหล่านั้นคงรู้แล้วว่าพระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายเพื่อชำระความบาปของเขา! ผมจำได้ครั้งหนึ่งเคยสนทนากับหญิงชราชาวจีนคนหนึ่ง ผู้ซึ่งมาที่คริสตจักรเป็นระยะเวลาหลายปี เธอได้ยินการเทศนาแบบ “อรรถธิบาย” มามากมาย ผมลองทำเธอว่า คนๆหนึ่งจะรอดดิ้อย่างไร เธอไม่อาจตอบคำถามนี้เช่นเดียวกันกับพวกโรมันเคทอลิค! ดังนั้นเราอย่าเด็ดขาดสันนิฐานว่าผู้ฟังเหล่านั้นต่างได้รับความรอดแล้ว แม้แต่รู้พระกิตติคุณขั้นพื้นฐานก็ตาม! ชายคนหนึ่งในพระคัมภีร์ใหม่ได้รับฉายาว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ชายผู้นั้นคือ “ฟีลิปนักประกาศข่าวประเสริฐ” ในพระธรรมกิจการ 21:8 ในการเทศนาครั้งนี้ ดร. ชัน ได้อ่านพระคัมภีร์ก่อนที่ผมจะขึ้นมาเทศน์ ในที่ประชุมเราอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับการประกาศข่าวประเสริฐซึ่งเทศนาโดยฟิลิป การประกาศข่าวประเสริฐ์หลายๆครั้งมาจากเนื้อหาส่วนนี้ ครั้งนี้ผมอยากจะกล่าวในละเอียดว่าพระเจ้าทรงอวยพระมากเท่าไหรให้กับการนมัสการที่มีการเทศนาแบบประกาศข่างประเสริฐ I. ประการแรก เมื่อฟิลิปเทศน์ช่างเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก ผมอยากจะอ่านพระคัมภีร์ตอนนที่ ดร. ชัน ได้อ่านก่อนหน้านั้นอีกครั้งหนึ่ง “ส่วนฟีลิปจึงลงไปยังเมืองสะมาเรียและประกาศเรื่องพระคริสต์ให้ชาวเมืองนั้นฟังประชาชนก็พร้อมใจกันฟังถ้อยคำที่ฟีลิปได้ประกาศ เพราะเขาได้ยินท่านพูด และได้เห็นการอัศจรรย์ซึ่งท่านได้กระทำนั้นด้วยว่าผีโสโครกที่สิงอยู่ในคนหลายคนได้พากันร้องด้วยเสียงดัง แล้วออกมาจากคนเหล่านั้น และคนที่เป็นโรคอัมพาตกับคนง่อยก็หายเป็นปกติจึงเกิดความปลื้มปีติอย่างยิ่งในเมืองนั้น” (กิจการ 8:5-8) ผมคิดว่าพวกคุณคงตื่นเต้นเช่นเดียวกันเมื่ออ่านพระธรรมตอนนี้ นี่คือพระวัจนะที่เกี่ยวกับการประกาศข่าวประเสริฐที่เปลี่ยนไปเป็นการฟื้นฟู! ผมเคยเห็นเกิดขึ้นหลายครั้งมาแล้ว นั่นอาจจะไม่มีคำไหนที่บรรยายดีเท่ากับคำว่าตื่นเต้นต่อการนมัสการนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่มีใครที่คิดถึงการนัมสการลักษณะเช่นนี้ ผมเคยไปร่วมการนมัสการหนึ่งที่เกิดขึ้นนานมาแล้วที่คริสตจัตรแบ็บติสต์ใต้ การมัสการล่วงเลยไปถึงเที่ยงคืน ตามตารางเวลาควรจะจบแค่ตอนเวลา 7.30 นาฬิกา แต่กลับล่วงเลยไป เราทายสิเกิดอะไรขึ้น? ไม่มีแม้แต่คนๆเดียวที่ลุกออกจากที่นั่น! ไม่มีสักคนจริงๆ! มีกลุ่มแม่บ้านที่มีลูกน้อยอยู่ในห้องดูแลเด็ก แต่พวกเขากลับลืมคนเหล่านั้น! ทุกๆคนต่างเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระคริสต์ และหลังจากที่ได้ฟังการเทศนาแห่งข่าวประเสริฐนั้น มีจำนวนถึงเจ็ดสิบห้าคนที่กลับใจใหม่ในเย็นวันนั้น ทุกคนต่างก็ร้องไห้ โห่ร้อง และร้องเพลง ช่างมหัศจรรย์มาก – เป็นการนมัสการที่ผมไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน แต่ผมกลับมีประสบการฯณ์ที่ตื่นเต้นแบบนี้น้อยมากจากการนมัสการในที่อื่นๆ เพราะจะเน้นหนักไปที่การร้องเพลง การเทศนาก็น่าสนใจ และการอธิษฐานก็มีให้กับทุกคนที่เข้าร่วม สิ่งหนึ่งที่พระเจ้าอยากจะเปลี่ยนการนมัสการแบบนี้! ทางนั้นคืออยู่ในสะมาเรีย – และทางนั้นเหมาะต่อการนมัสการแบบการประกาศข่าวประเสริฐ II. ประการที่สอง ฟิลิปเทศน์ถึงพระคริสต์ “ส่วนฟีลิปจึงลงไปยังเมืองสะมาเรียและประกาศเรื่องพระคริสต์ให้ชาวเมืองนั้นฟัง” (กิจการ 8:5) นั่นคือสิ่งที่ “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ตลอดในพระธรรมกิจการทำกัน! เขาทั้งหลายต่างกล่าวถึงพระคริสต์! เขาทั้งหลายเทศนาเกี่ยวกับพระคริสต์! และนี่เกิดที่เมืองสะมาเรีย ฟีลิปผู้ประกาศข่าวประเสริฐ “เทศน์เกี่ยวกับพระคริสต์ให้คนเหล่านั้น” นี่ก็เช่นเดียวกันที่เปโตรประกาศข่าวประเสริบให้กับครอบครัวของโครเนลิอัส เปโตรกล่าวว่า “[เรา] ดื่มกับพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงคืนพระชนม์แล้วพระองค์ทรงสั่งให้เราทั้งหลายประกาศแก่คนทั้งปวง และเป็นพยานว่าพระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นผู้พิพากษาทั้งคนเป็นและคนตายศาสดาพยากรณ์ทั้งหลายย่อมเป็นพยานถึงพระองค์ว่า ผู้ใดที่เชื่อถือในพระองค์นั้นจะได้รับการทรงยกความผิดบาปของเขา เพราะพระนามของพระองค์” (กิจการ 10:41-43) เทศนากี่ยวกับพระคริสต์ให้คนเหล่านั้น! และนี่ก็เกิดให้กับคริสเตียนชาวไซปรัส และ ชาวไซรินตอนมาที่อันทิโอก “ก็ได้กล่าวประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระเยซูเจ้าแก่พวกกรีกด้วย “เพราะข้าพเจ้าตั้งใจว่าจะไม่แสดงความรู้เรื่องใดๆในหมู่พวกท่านเลยเว้นแต่เรื่องพระเยซูคริสต์ และการที่พระองค์ทรงถูกตรึงที่กางเขน” (1 โครินธ์ 2:2) การเทศนาของเขานั้นมีพระคริสต์คือจุดศูนย์กลาง เหมือนอย่างที่เนโรกล่าวว่า “คริสเตียนพวกนี้นมัสการยิวคนหนึ่งที่ตายแล้ว” อา! คำพูดของเขาอาจถูกเพียงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น! ใช่! พระคริสต์ทรงสี้นพระชนม์ “พระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ไว้ด้วยพระหัตถ์เบื้องขวาของพระองค์ให้เป็นเจ้าชาย และองค์พระผู้ช่วยให้รอด เพื่อจะให้ชนอิสราเอลกลับใจใหม่ แล้วจะทรงโปรดยกความผิดบาปของเขาเราทั้งหลายจึงเป็นพยานของพระองค์ถึงเรื่องเหล่านี้ และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงประทานให้ทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์นั้นก็เป็นพยานด้วย” (กิจการ 5:31-32) นี้คือพระวัจนะที่เราควรจะต้องเทศน์! นี่การประกาศข่าวประเสริฐที่แท้จริง! นั่นคือพันธกิจของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ! หวังกับพระเจ้าว่านักเทศน์ทั้งหลายในประเทศอเมริกาและทั่วโลกในทุกวันนี้ควรต้องยืดถือ! ร้องเพลงบทที่หกด้วยกัน! ข้าชอบเล่าเรื่องประเสริฐเลิศถึงสิ่งเบื้องบนสวรรค์ คืนก่อนที่พระองค์จะทรงถูกตรึงที่กางเขน พระองค์ได้นำเหล่าสาวกของพระเจ้าเข้าไปที่สวนเกเสมนี ขณะที่พระเยซูกำลังอธิษฐานอยู่นั้นเหล่าสาวกหลับหมดแล้ว ความบาปแห่งโลกนี้ได้ตกลงมาที่พระองค์ในสวนนี้ ความบาปของเราที่หนักนั้นได้ทำให้ “พระเสโท…ของพระองค์เป็นเหมือนโลหิตไหลหยดลงถึงดินเป็นเม็ดใหญ่” (ลูกา 22:44) ที่พระองค์อธิษฐานนั้นพวกปุโรหิตและพวหผู้นำได้จับกุมพระองค์ พวกเขานำพระองค์ไปที่มหาปุโรหิต “เขาจึงตบพระพักตร์พระองค์และถามพระองค์ว่า “จงพยากรณ์เถอะว่า ใครตบเจ้า” (ลูกา 22:64) พวกเขาดึงหนวกและตบพระพักต์ของพระองค์ (อิสยาห์ 50:6) หลังจากนั้นก็พาพระองค์ไปที่เจ้าเมืองของพวกโรมันที่ชื่อปอลติอัส ปีลาต เขาเฆี่ยนตีหลังของพระองค์จนเลือดไหลลงมาที่ขา พวกเขาเอามงกุฎหนามสวมลงบนศีรษะของพระองค์ เลือดไหลท่วมพระพักต์และพระเนตรของพระองค์ พวกเขาบังคับให้พระองค์แบกกางเขนไปยังที่ๆพระองค์จะต้องถูกตรึง พวกเขาตอกตะปูลงบนฝ่ามือและเท้าของพระองค์ เข้ายกกางเขนของพระองค์ขึ้น พวกเขาตรึงพระองค์บนนั้นพร้อมกับผู้ที่ตะโกนเยาะเย้ยพระองค์ แต่พระองค์อธิษฐานว่า “ข้าแต่พระบิดา ขอโปรดอภัยโทษพวกเขา เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าเขาทำอะไร” (ลูกา 23:34) และก่อนสิ้นพระชนม์พระองค์พระองค์ร้องด้วยเสียงอันดังว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากจิตวิญญาณของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลูกา 23:46) พระองค์ตรัสว่า “สำเร็จแล้ว” และทรงก้มพระเศียรลงปล่อยพระวิญญาณจิตออกไป” (ยอห์น 19:30) พวกเขาได้เอาพระศพของพระองค์ลงมาจากกางเขนพร้อมกับนำไปเก็บไว้ที่สุสานใหม่ พวกเขาตอกประตูถ้ำและให้พวกทหารโรมันเฝ้าเอาไว้กันไม่ให้คนมาขโมยพระศพของพระองค์ ในวันอาทิตย์ตอนเช้า มารีย์ เมคดาริน และมารีย์ อีกคนหนึ่งได้ที่ถ้ำพวกเธอแห่งทูตสวรรค์นั่งอยู่บนแผ่นประตูหินที่ถูกเลื่อนออกจากปากถ้ำ ทูตสวรรค์กล่าวว่า “อย่ากลัวเลย เพราะเรารู้อยู่ว่าท่านทั้งหลายมาหาพระเยซูซึ่งถูกตรึงที่กางเขน พระองค์หาได้ประทับอยู่ที่นี่ไม่ เพราะพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้วตามที่พระองค์ได้ตรัสไว้นั้น มาดูที่ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าได้บรรทมอยู่นั้น” (มัทธิว 28: 5, 6) และคืนนั้นพระคริสต์ผู้ฟื้นคืนพระชนม์ได้มาปรากฏให้กับพวกสาวก พระองค์รับประทานกับพวกเขา และอยู่ร่วมกับพระองค์เป็นเวลาถึงสี่สิบวัน พวกเขาสามารถจับต้องพระองค์และเห็นว่าพระองค์ไม่ใช่ผี แต่พระองค์มี “เนื้อหนังมีกระดูก” เป็นร่างกายที่ฟื้นขึ้นจากความตาย (ลูกา 24:39) ในช่วงระหว่างสี่สิบวันนั้นพระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกิย่างมากมาย บัญชาสุดท้ายที่พระองค์ตรัสไว้คือ “พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้ แล้วตรัสกับเขาว่า “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดี ทรงมอบไว้แก่เราแล้วเหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงออกไปและสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เขารับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกท่านไว้ และดูเถิด เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นโลก เอเมน” (มัทธิว 28:18-20) “ต่อมาเมื่อทรงอวยพรอยู่นั้น พระองค์จึงไปจากเขา แล้วทรงถูกรับขึ้นไปสู่สวรรค์” (ลูกา 24:51) นี่คือคำสั่งที่ผมได้รับมาเพื่อที่จะต้องบอกให้กับพวกคุณให้ทราบถึงเรื่องนี้! นี่แหละข่าวประเสริฐ! นี่คือสิ่งที่ผมต้องทำ! นี่คือสิ่งที่นักเทศน์ทุกคนต้องทำ! “ทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ”!!! ฮา! แต่ยังเหลืออีก! III. ประการที่สาม ฟิลิปสร้างความสนใจให้กับพวหเขา “ประชาชนก็พร้อมใจกันฟังถ้อยคำที่ฟีลิปได้ประกาศ เพราะเขาได้ยินท่านพูด และได้เห็นการอัศจรรย์ซึ่งท่านได้กระทำนั้น” (กิจการ 8:6) ฟีลิปแสดงให้เห็นว่าเขามีอำนาจเหนือคนชั่วเหล่านั้น! คุณไม่สามารถใช้จินตนาการใด ๆ หรือสร้างวิศัยทัศน์ตามแบบของฟีลิป “โดยวิธีการอธิบายพระคัมภีร์ให้คนเหล่านั้น! กับพวกเขา!การพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระเหมือนฟองสบู่ตอนล้างจานเป็นเวลาถึงสามสิบนาทีในเช้าวันอาทิตย์ซึ่งเกิดขึ้นตามคริสตจักรต่างๆ ของเรา อย่างที่ได้รับดูหมิ่นและล้อเลียนด้วยความชิงชังรังเกียจจากฝูงชนของชาวสะมาเรีย! แต่นั่นไม่ใช่วิธีการเทศน์ของฟิลิป! ผู้คน "เข้ามาฟัง" ฟิลิปเทศนาเพราะ คำพูดและคำเทศนาของเขา “ไม่ใช่คำที่เกลี้ยกล่อมด้วยสติปัญญาของมนุษย์ แต่เป็นคำซึ่งได้แสดงพระวิญญาณและพระเดชานุภาพ” (1 โครินธ์ 2:4) นี่คือวิธีประกาศข่าวประเสริฐของฟีลิป นี่คือการประกาศตามแบบของเปาโล และนี่คือวิธีเดียวกันที่เปโตรใช้ประกาศในวันเพ็นเตคอส พระคำของพระเจ้าตรัสว่า “ท่านชาวยูเดียและบรรดาคนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม จงทราบเรื่องนี้ และฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าเถิด” (กิจการ 2:14)! นี่คือเป็นวิธีการประกาศที่ไวทฟิวล์ใช้! นี่คือการประกาศที่เวสลีย์ใช้! นี่คือการประกาศที่ฮาวเวลล์ ฮาร์รี่ใช้! นี่คือการประกาศที่ ดาเนียล รอเรนด์ใช้! นี่คือการประกาศที่เราควรใช้ในทุกวันนี้! – ใช่ต้องเป็นเช่นนั้น! นี่คือการประกาศที่เราต้องใช้เดี๋ยวนี้ – คือในยุคของบารัค โอบามา – ในยุคสุดท้าย! พระเจ้าโปรดช่วยเหลือเรา! “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ”! IV. ประการที่สี่ ฟีลิปได้ทำการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของคนเหล่านั้น การประกาศที่แท้จริงนั้นต้องทำอย่างนี้ “ด้วยว่าผีโสโครกที่สิงอยู่ในคนหลายคนได้พากันร้องด้วยเสียงดัง แล้วออกมาจากคนเหล่านั้น และคนที่เป็นโรคอัมพาตกับคนง่อยก็หายเป็นปกติ” (กิจการ 8:7) นี่คือการตอบสนองต่อการประกาศข่าวประเสริฐ – แม้แต่พวกวิญญาณชั่วก็ยังต้องตอบสนอง! คุณไม่อาจเป็นนักประกาศได้ถ้าคุณไม่สามารถทำให้เปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้! ดร. รอยด์ โจนส์ กล่าวเอาไว้ว่า "การเทศน์ในอดิตที่ผ่านมานั้นหัวใจสำคัญคืออยู่ที่ความรักเมตตากรุณาใช่หรือไม่? ดูเหมือนบรรดานักเทศน์ในสมัยนี้ได้ยการเทศน์เช่นนี้ออกไป?...ผมขอพูดอีกครั้งว่านักเทศน์ที่ [ขาดความรักเมตตากรุณา] จะไม่มีสิทธิ์กล่าวพระวัจนะอยู่บนธรรมาส์ และไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะเข้าใกล้” (D. Martyn Lloyd-Jones, M.D., Preaching and Preachers, Zondervan Publishing House, 1971, pp. 90, สองามอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองปลดเกษียนของ ดร. มอรรี่ ลัม ผมรู้จักหลายคนที่นั่นจากคริสตจักรจีน ตอนที่ลูกชายของ ดร. ลัม ออกมาพูดนั้น เขาบอกว่าเขาเคยได้ยินผมพูดถึงการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ และทำให้เขารู้กลัว และเขาก็ได้ความรอด ชายผู้หนึ่งที่นั่งที่โต๊ะเดียวกันบอกว่าเขาได้ยินผมเทศนาเรื่องนรก และทำให้เขารู้สึกโกรธผมมาก “แต่” เขาบอกว่า “ตาความรู้สึกเหล่นั้นกลับทำให้เขาได้ความรอด” แล้วเขาก็ได้วางใจในพระคริสต์ และนั่นคือหนทางที่ควรจะเป็น “จงประกาศข่าวประเสริฐ” การจำทำอย่างนั้นไม่ใช่บอกให้คุณถึงเรื่องข่าวประเสริฐเท่านั้น เพราะไม่มีทางที่คุณจะเอาจริงเอาจังกับข่าวประเสริฐนั้นถ้าจนกว่าคุณสามารถเลี่ยนแปลงรู้เหลื่อนไหวอารมณ์ความรู้สึกของคุณ – จะโกรธหรือจะกลัว! ใจของคุณต้องได้รับการเคลื่อนไหว “ด้วยว่าความเชื่อด้วยใจก็นำไปสู่ความชอบธรรม” (โรม 10:10) ผมขอบอกคุณว่าพระคริสต์จะเสด็จมาพิพากษาโลกนี้ การพิพากษานั้นก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ลองพายุเฮอริเคน ลองดูภัยจากน้ำท่วม ภัยจากหิมะ ภัยแล้งในภาคตะวันตก ภัยจากผู้ก่อการร้ายที่สามารถทำลายล้างเมืองทั้งเมืองจากแรงระเบิด คุณเห็นเหตุการณ์เหล่านี้หรือยัง? อะไรจะเกิดแก่คุณถ้ามีระเบิด “ลูกใหญ่ถูกทิ้งลงที่เมืองลอสแอนเจอลิส” – อาจเป็นตอนที่แผ่นดินนั้นแยกออกและคุณตกลงไปในนรก? และจะเกิดอะไรขึ้นกับวิญญาณของคุณตอนที่ร่างกายอันเย็นเฉียบของคุณถูกเก็บไว้ที่โรงเก็บศพ จะเกิดอะไรให้กับคุณถ้าคุณยังทำในสิ่งที่คุณชอบ – ไปเล่นเกมส์ที่คริสตจักร! เล่นเกมส์กับจิตวิญญาณของคุณ! เล่นเกมส์กับพระเจ้า – พระองค์จะไม่ปล่อยคุณไปไหนง่ายโดยที่ไม่มีการลงโทษ พระเจ้าของจะนำเพลิงที่เผ่าผลาญมา! เกมส์เหล่านี่ใช่ของคุณด้วยหรือเปล่า? คุณได้ปฏิเสธพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือเปล่า? คุณได้ซ่อนบาปเอาไว้โดยที่คิดว่าไม่วันที่ใครจะรู้ได้หรือเปล่า? โอ้! ในค่ำคืนนี้ผมขอบอกคุณว่า! มันอาจจะสายให้กับใครบางคนแล้ว! และมันก็สายมากให้กับใครบางคนในค่ำคืนด้วยแล้วด้วย – ถ้าคุณรอให้ผ่านไปอีกวันหนึ่งดดยที่ยังไม่ได้รับการชำระโดยพระโลหิตของพระคริสต์! อย่าหันหลังให้กับพระองค์! อย่าทำอย่างนั้นอีกต่อไป! ผมขอเตือนคุณ – อย่าหันหลังให้กับพระองค์! นี่อาจเป็นโอกาศครั้งสุดท้ายของคุณที่จะเชื่อไว้วางใจในพระองค์ก่อนที่การพิพากษานั้นจะมาถึง นี่เป็นคือหน้าที่ของผมที่ต้องเตือนคุณ เป็นหน้าที่ของผมอย่างนักประกาศ กรุณายืนขึ้นและร้องเพลงบทที่ 8 ด้วยกัน ฉันละเลยพระผู้ช่วยนานแล้ว ฉันโจมอยู่ในบาปนานแล้ว ถ้าคุณต้องการจะคุยกับเราถึงเรื่องของความรอด กรุณาเดินออกไปข้างหลังของห้องนี้ ดร. คาเกน จะนำคุณเข้าไปในห้องที่เงียบๆเพื่อบอกคุณถึงเรื่องการเชื่อและไว้วางใจในพระคริสต์ ท่าน ลี กรุณานำเราอธิษฐาน (จบการเทศนา) You may email Dr. Hymers at rlhymersjr@sbcglobal.net, (Click Here) – or you may อ่านพระวัจนะก่อนเทศนา โดย ดร. กรีกฟตัน เอล์ ชัน: กิจการ 8:5-8 |
โครงร่างของ พันธกิจของนักประกาศ โดย ดร. ไฮเมอร์ส อาร์ เอล์ จูเนียร์ “จงทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ และจงกระทำการรับใช้ของท่านให้สำเร็จ” (ปัญญาจารย์ 7:29) I. ประการแรก เมื่อฟิลิปเทศน์ช่างเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก II. ประการที่สอง ฟิลิปเทศนาถึงพระคริสต์ กิจการ 8:5; 10:41-43; 11:20, 21; III. ประการที่สาม ฟิลิปสร้างความสนใจให้กับพวหเขา IV. ประการที่สี่ ฟีลิปได้ทำการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของคนเหล่านั้น |